ความยั่งยืน

ความยั่งยืน

R&D

ฝ่ายการวิจัยและพัฒนา
  1. การวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

  2. โรงงานผลิต

  3. ศูนย์วิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

บริการด้านเทคนิค

บริการด้านเทคนิค
  1. ห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่

  2. การตรวจสอบคุณภาพน้ำ

  3. การให้คำปรึกษาด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์

  4. การสัมมนา

ผลิตภัณฑ์

ผลิตภัณฑ์
  1. ภาพรวมผลิตภัณฑ์

  2. แคตตาล็อกผลิตภัณฑ์

  3. อาหารฟังก์ชั่ั้นประสิทธิภาพ

  4. อาหารฟังก์ชั่น

  5. ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพสัตว์

เกี่ยวกับเรา

เกี่ยวกับเรา
  1. เรื่องราวของเรา

  2. ภารกิจและวิสัยทัศน์

  3. การจัดการ

  4. งาน

อีเวนต์และข่าวต่างๆ
ปลาก้างพระร่วง
ปลาก้างพระร่วง #ปลาประจำถิ่นของไทย อาศัยอยู่ตามแม่น้ำลำธารที่มีกระแสน้ำไหลแรงในภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ของประเทศ ปัจจุบันพบมากที่สุดตามลำน้ำทางตอนใต้ของคอคอดกระที่ไหลลงสู่อ่าวไทยและตามลำน้ำแถบทิวเขาบรรทัดในภาคตะวันออก ลำตัวโปร่งใส จนสามารถมองเห็นอวัยวะภายในได้ชัดเจน โตเต็มที่มีความยาวประมาณ 6.5 เซนติเมตร DsVKp0.jpg DsVc4u.jpg ปลาก้างพระร่วง (อังกฤษ: glass catfish, ghost catfish, phantom catfish, Thai glass catfish) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในสกุล Kryptopterus นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามมากกว่าจะนำมาบริโภค พบได้ทั่วไปในตลาดซื้อขายปลาน้ำจืดสวยงามโดยเป็นปลาส่งออกที่ขึ้นชื่อชนิดหนึ่ง แต่อนุกรมวิธานของปลาชนิดนี้เป็นที่สับสนกันมานานและเพิ่งได้รับการจำแนกอย่างชัดเจนในปี พ.ศ. 2556 ก่อนปี พ.ศ. 2525 ปลาก้างพระร่วงเคยถูกจัดให้เป็นปลาชนิดเดียวกับ K. bicirrhis ซึ่งเป็นชนิดที่มีขนาดใหญ่กว่า ดุกว่า และพบไม่บ่อยในตลาดปลาสวยงาม ต่อมาเชื่อกันว่าปลาก้างพระร่วงชนิดที่พบบ่อยในตลาดปลาเป็นชนิดเดียวกันกับ K. minor แต่ในปี พ.ศ. 2556 มีข้อสรุปว่าตัวอย่างปลาที่พบในตลาดปลานั้นเป็นชนิดต่างหากอีกชนิดหนึ่ง จึงได้รับการบรรยายชนิดใหม่โดยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า K. vitreolus ส่วนชนิด K. minor ที่แท้จริงมีถิ่นอาศัยจำกัดอยู่ที่เกาะบอร์เนียวเท่านั้น และแทบไม่เคยถูกนำเข้ามาในตลาดปลาสวยงามเลย ชื่อชนิด vitreolus แผลงมาจากคำคุณศัพท์ VITREVS ในภาษาละตินซึ่งแปลว่า "ที่ใสหรือมีคุณสมบัติอย่างแก้ว" ส่วนชื่อสามัญในภาษาไทยมีที่มาจากนิทานพื้นบ้านภาคกลางที่เล่าต่อกันมาว่า พระร่วงได้เสวยปลาชนิดนี้จนเหลือแต่ก้าง จึงทิ้งลงน้ำและกล่าววาจาสิทธิ์ว่าขอให้ปลาตัวนี้ฟื้นคืนชีพขึ้นมา ปลาตัวดังกล่าวก็กลับมีชีวิตขึ้นใหม่จริง ๆ จึงได้ชื่อว่า "ก้างพระร่วง" นับแต่นั้น นอกจากชื่อปลาก้างพระร่วงแล้ว ยังมีชื่อเรียกตามท้องถิ่นอื่น ๆ อีก เช่น "ปลาผี", "ปลาก้าง", "ปลากระจก", "ปลาเพียว" เป็นต้น